วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 14 เปรียบเทียบเว็บบล็อค

ความเห็นเกี่ยวกับการใช้ blogger
เป็นความรู้ใหม่ที่ได้รับจากการเรียน สามารถนำไปพัฒนางานในหน้าที่การเรียนการสอน โดยเฉพาะการบริหารงานโรงเรียน เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ของบุคลากรในโรงเรียน และยังสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เรียนรู้ และฝึกทักษะในการใช้และเรียนรู้คอมพิวเตอร์ได้อีกด้วย เมื่อประเมินแล้วพบว่าการสร้างบล็อคมีส่วนดีดีทั้งสองบล็อกแต่รูปแบบการใช้ และกลุ่มผู้ใช้แตกต่างกันบ้าง
เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของ blogspot กับ gotoknow
1. กลุ่มผู้ใช้บล็อก gotoknow มากกว่า blogspot
2. รูปแบบบล็อก blogspot สวยกว่า gotoknow
3. blogspot เหมาะกับการจัดการกลุ่ม มากกว่า gotoknow
4. gotoknow เมาะกับการเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณชนมากกว่า blogspot

ใบงานที่ 13 ศึกษาดูงาน

โครงการพัฒนานักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษากิจกรรมศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการสถานศึกษาภาคกลาง – ภาคอีสาน วันที่ 17 - 22 มกราคม 2553การได้ศึกษาดูงานครั้งนี้นับว่าเป็นโอกาสดีครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของกระผมที่ ได้ศึกษาเรียนรู้ วิธีชีวิต รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา การปกครอง ซึ่งนับได้ว่าเป็นประสบการณ์ที่ควรค่าแห่งการจดจำ ซึ่งสรุปได้ ดังนี้
1) การศึกษาดูงานโรงเรียนอนุบาลหนองคายโรงเรียนอนุบาลหนองคายเปิดสอนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งสิ้น 2,002 คน 49 ห้องเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โทร 042-411051 www.anubannk.orgผลงานของโรงเรียนอนุบาลหนองคาย1. โรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับประถมศึกษา2. โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง3. โรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 25514. โรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย5. โรงเรียนวิถีพุทธ6. โรงเรียนส่งเสริมสุภาพ7. โรงเรียนดีศรีหนองคายซึ่งในการเข้าเยี่ยมชมในครั้งนี้ผู้บริหารได้มาต้อนรับและทำการบรรยายถึงยุทธวิธีการบริหารโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จอย่างมีคุณภาพ ผู้บริหารใช้เทคนิคเร้าพลังให้ครูจะต้องมี best Practice ในแต่ละคนจะมีผลงานที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนมานำเสนอทุกคน ทำให้ครูได้พัฒนาตนเอง จนได้ คศ.3 ทุกคน
2) การศึกษาดูงานประเทศลาวได้มีโอกาสเข้าสู่ประเทศลาวซึ่งเป็นบ้านพี่เมืองน้องของไทย ประชากรน้อยมีแค่ 9 ล้านคน ผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 5:1 ผู้หญิงจะไม่ค่อยแต่งงาน วิถีชีวิตของคนลาวมีส่วนคล้ายคลึงกับประเทศไทยมากแต่ประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่า คนลาวมีวิถีชีวิตที่ค่อนข้างเรียบง่าย ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง อยู่อย่างพอมีพอกิน จะไม่เป็นหนี้ และในประเทศลาวจะไม่ค่อยมีตำรวจจะไม่มีคดี โจรผู้ร้ายไม่มี จะอยู่แบบสังคมที่สงบสุข มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมอย่างชัดเจน คือ นักเรียน นักศึกษาจะนุ่งผ้าซิ่น ในแต่ละบ้านจะปักธงชาติทุกหลังเพื่อให้เห็นถึงความรักชาติ
3) การศึกษาดูงานที่หมู่บ้านงูจงอางที่บ้านโคกสง่า ตำบลทรายมูล ได้ร่วมดูการแสดงคนกับงูจงอาง การจูหัวงู การอมหัวงู การนำงูเข้าในในกางเกง ซึ่งเป็นการแสดงที่ค่อนข้างอันตรายคนที่ไม่มีประสบการณ์จะลองทำไม่ได้ เป็นสังคมชนบทอยู่มาก มีการหาสมุนไพรมาขายหลากหลาย และได้รับการต้อนรับที่ดีจากชุมชนที่นั้นเป็นอย่างดี
4) การศึกษาที่จังหวัดเพชรบุรี ณ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรีได้ไปเยี่ยมชมทิวทัศน์รอบเขื่อน โดยนั่งเรือดูรอบๆ เขื่อนสวยงามมาก ได้ร่วมรับประทานอาหารร่วมกันในตอนเย็นมีการทำกิจกรรมกลุ่มสังสรรค์ ร้องเพลง เต้นรำตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็น - ผลการเรียนที่ความคาดหวังไว้ แล้วแต่ความเหมาะสมครับ สำหรับตัวกระผมเองนั้น มีพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่บ้างพอสมควร และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียนได้ในระดับหนึ่ง
โอกาสข้างหน้าคงจะได้ปรึกษาหารืออาจารย์อีนะครับ

วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 12 การใช้งานโปรแกรม SPSS for Window

ส่วนประกอบหลักของ SPSS FOR WINDOWS
Ø Title Bar บอกชื่อไฟล์
Ø Menu Bar คำสั่งการทำงาน
Ø Cell Editor กำหนดค่าตัวแปร
Ø Cases ชุดของตัวแปร
Ø Variable กำหนดชื่อตัวแปร
Ø View Bar มีสองส่วน

1. Variable View สร้างและแก้ไขโครงสร้างตัวแปร
2. Data View เพิ่มและแก้ไขตัวแปร
Ø Status Bar แสดงสถานการณ์ทำงาน

การเปิด SPSS Data Editor
ไปที่ File -> New -> Data แล้วกำหนดชื่อและรายละเอียดจากหน้าจอ Variable Viewป้อนข้อมูล Data View บันทึกข้อมูล File -> Save

การกำหนดชื่อและรายละเอียดตัวแปร
ที่หน้าจอ SPSS Data Editor เรียกหน้าจอ Variable View ทำได้ 2 วิธี คือ
1. ดับเบิลคลิกตรงคอลัมน์ของบรรทัดแรก
2. คลิกแถบ Variable View ที่อยู่ด้านล่างเมื่อได้หน้าต่างของ Variable View
1. Name ชื่อตัวแปร ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Name เช่น Sex
2. Type ประเภทของตัวแปร เลือก Numeric Width=1 Decimal Places=0 คลิกปุ่ม OK
3. Label กำหนดข้อความขยายชื่อตัวแปร เพื่ออธิบายชื่อตัวแปรและแสดงออกทางผลลัพธ์ ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Label เช่น เพศ
4. Values กำหนดคำอธิบายให้กับค่าตัวแปร
5. Missing กำหนดค่าที่ไม่นำไปวิเคราะห์ มี 2 แบบ
5.1 User Missing ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด เช่น 9, 99, 999, …
5.2 System Missing โปรแกรมจะกำหนดให้เอง

6. Column จำนวนความกว้างของคอลัมน์ คือจำนวนความกว้างมากสุดของ ค่าตัวแปร หรือ ชื่อตัวแปร หรือ label ตัวแปร .จากตัวอย่าง ชื่อตัวแปร และ label ตัวแปร มีความกว้างมากสุดเท่ากับ 3 ให้พิมพ์ 4 (ความกว้างมากสุดเท่ากับ 3 บวกเผื่อไว้ 1)
7. Align ให้แสดงค่าตัวแปร ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา
8. Measure ระดับการวัดของข้อมูล
8.1 Scale (Interval, Ratio)
8.2 Ordinal
8.3 Nominal
ให้กำหนดชื่อและรายละเอียดของตัวแปรให้ครบทุกตัว

การวิเคราะห์ข้อมูล
1. คลิกที่เมนู Analyze เลือก Descriptive Statistic และเลือก Frequencies
2. จากนั้นเราจะได้กรอบ Frequencies กรอบ Frequencies ทางช่องซ้ายมือเป็นตัวแปรต่างๆ ที่ได้จากแบบสอบถาม ทางช่องขวามือจะเป็นส่วนเลือกตัวแปรเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล
3. เราจะเลือกตัวแปรโดยการคลิกที่ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ทางซ้ายมือ จากนั้นคลิกปุ่มเลือก(สามเหลี่ยมสีดำ)ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ก็จะตกไปอยู่ทางช่องขวามือ ในที่นี้ให้เลือกทั้งหมดทุกตัวแปร
4. คลิกปุ่ม Statistics แล้วจะได้กรอบ Frequencies Statistics
5. เลือกประเภทการวิเคราะห์ข้อมูล ในที่นี้เราจะวิเคราะห์ Central Tendency และ Dispersion โดยส่วน Central Tendency เลือก Mean, Median, Mode, Sum และส่วน Dispersion เลือก Std. deviation, Minimum, Maximum เลือกเสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม Continue เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics
6. ต่อไปให้คลิกปุ่ม Charts จะได้กรอบ Frequencies Charts ในส่วน Frequencies Charts นี้ท่านสามารถเลือก Chart Type ว่าต้องการเป็น Charts ชนิดใด ในที่นี้ให้เลือก Bar charts แล้วคลิก Continue
7. เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics ดังภาพ จากนั้นคลิกปุ่ม OK ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล

วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 11 ความคิดเห็นต่ออาจารย์ผู้สอน

…ความรู้สึกที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์อภิชาติ…
ได้รับความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการใช้อินเทอร์เนตเป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้ ซึ่งความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เราจึงต้องรู้จักวิธีแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองและวิชาชีพอยู่เสมอ อาจารย์อภิชาติมีความเป็นกันเองและจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้นักศึกษาได้รู้จักการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และลงมือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งต้องรู้จักบริหารเวลา วางแผนการเรียนรู้ บวกความรับผิดชอบจึงจะทำให้การเรียนวิชานี้ประสบความสำเร็จขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ได้นำสิ่งใหม่ๆ ดีๆ มาให้นักศึกษาได้เรียนรู้...

ใบงานที่ 10 ประวัติส่วนตัว


ชื่อ-สกุล นายศุภวัฒน์ มะลิเผือก ชื่อเล่น บ่าว
ภูมิลำเนา ตำบลเสาเภา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 41/ 1 ม.6 ต.การะเกด อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช 80190

ประวัติการศึกษา
Ø ประถมศึกษา โรงเรียนวัดสโมสรสันนิบาต อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช (2533)
Ø มัธยมศึกษา โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช (2539)
Ø ระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) วิชาเอก ประถมศึกษา วิชาโท วัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา (2543)
Ø ระดับปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สาขาเทคโนโลยีการวัดผลทางการศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี (2548)

Ø ปัจจุบัน กำลังศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช

ประวัติการทำงาน
Ø เริ่มรับราชการในตำแหน่ง อาจารย์ 1ระดับ 3 โรงเรียนบ้านโคกวัด อำเภอทุ่งใหญ่
จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 20 กรกฏาคม 2543
Ø ตำแหน่งปัจจุบัน ครู คศ.1 โรงเรียนบ้านหนองนนทรี อำเภอชะอวด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3

คติประจำใจ
...ตื่นตัว ว่องไว ก้าวหน้า พัฒนาตนเอง...

ใบงานที่ 9 ลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ

1. เป็นผู้มีจิตวิญญาณนักบริหาร
มีจิตวิญญาณนักบริหาร คือ อุทิศตนเพื่อหน้าที่ ดำเนินชีวิตและทำงานบนพื้นฐานของเหตุผล มีความเป็นปัญญาชน และประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

2. มีคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ
คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ ได้แก่ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน บุคลิกน่าเชื่อถือ มีความเป็นผู้นำ กล้าตัดสินใจ รู้จักตนเองและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีองค์ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญในการบริหาร และสามารอดทน ยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม

3. มีค่านิยมที่พึงประสงค์
ค่านิยมของผู้บริหารที่พึงประสงค์ ได้แก่ การพึ่งตนเอง ประหยัดอดออม มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ปฏิบัติตามคุณธรรมศาสนาและรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

4. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในด้าน
4.1 กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ที่ดีกว่าในองค์กรของตน
4.2 มีความรู้ลึกและรู้รอบ มีความคิดรวบยอดในงานบริหารที่ตนรับผิดชอบและรอบรู้ข่าวสาร ความเปลี่ยนแปลงทางด้านการบริหารและการศึกษาอยู่ตลอดเวลา
4.3 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทำสิ่งแรก สิ่งแปลก สิ่งใหม่ในทางที่ดี นำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ


5. มีจิตใจประชาธิปไตย
5.1 มีคาระวธรรม (เคารพในสิทธิ เสรีภาพของผู้อื่น)
5.2 มีปัญญาธรรม (ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองโดยยึดหลักเหตุผล)
5.3 มีสามัคคีธรรม (ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมคิด ร่วมทำเพื่อให้งานในองค์กรประสบความสำเร็จ)

6. มีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม
มีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม โดยคิดถึงประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว ยอมเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่

7. มีจรรยาบรรณวิชาชีพ
7.1 ต่อตนเอง ซื่อสัตย์ อุทิศตน เป็นแบบอย่างที่ดี
7.2 ต่อผู้รับบริการ ให้ความสำคัญต่อผู้รับบริการ ไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ
7.3 ต่อบุคลากรในองค์กร มีความยุติธรรม ใช้ระบบคุณธรรมในการบริหาร
7.4 ต่อวิชาชีพ ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ บริหารจัดการด้วยความซื่อสัตย์
7.5 ต่อชุมชนและสังคม รักและให้ความสำคัญกับองค์กร ร่วมสร้างความเข้มแข็งต่อองค์กร

ใบงานที่ 8 ศึกษา Web วัดผลดอทคอม

1. ความหมายของสถิติ
สถิติ หมายถึง ศาสตร์หรือวิชาที่ว่าด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาสรุป
2. ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2.1 ค่าเฉลี่ย (Mean) หรือเรียกว่าค่ากลางเลขคณิต ค่าเฉลี่ย ค่ามัชฌิมเลขคณิต เป็นต้น ความหมายเป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
2.2 มัธยฐาน (Median) คือ คะแนนที่อยู่ตรงกลางที่แบ่งคะแนนออกเป็นสองกลุ่มเท่า ๆ กัน ทำโดยนำคะแนนที่ได้มาเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยหรือจากน้อยไปหามาก มักเขียนแทนด้วย Mdn เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
2.3 ฐานนิยม (Mode) คือ ค่าที่ซ้ำกันมากที่สุดหรือที่มีความถี่มากที่สุด เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
2.4 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นการวัดการกระจายที่นิยมใช้กันมากเขียนแทนด้วย S.D. หรือ S เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
3. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3.1 ประชากร (Population) หมายถึง หน่วยทุกหน่วย (ซึ่งอาจมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้) ที่เรา สนใจเช่น จำนวนคนไทยที่เป็นเพศชาย ประชากรคือคนไทยทุกคนที่เป็นเพศชาย จำนวนรถยนต์ในจังหวัดพิษณุโลก ประชากรคือ รถยนต์ทุกคันที่อยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ
3.2 กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง หน่วยย่อยของประชากรที่เราสนใจ เช่น จำนวนรถยนต์ที่วิ่งในจังหวัดพิษณุโลกซึ่งไม่สามารถจัดเก็บได้ทัน จึงต้องใช้ตัวอย่างซึ่งตัวอย่างจะต้องเป็น รถยนต์ที่กำลังวิ่งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ
4. ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
4.1 ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (Independent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผล หรือก่อให้เกิดการแปรผันของปรากฏการณ์ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยกำหนดหรือจัดกระทำได้ เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากตัวแปรนี้
4.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลมากจากการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรอิสระ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยมุ่งวัดเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนำมาวิเคราะห ์เพื่อตอบคำถามของการวิจัยว่าเป็นผลมากจากสิ่งใด
5. สมมุติฐาน
สมมุติฐาน หมายถึง ข้อความที่ผู้วิจัยคาดหวังหรือคิดเกี่ยวกับความแตกต่างที่อาจจะเป็นไปได้ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ สมมุติฐานมีอยู่ 2 ประเภทคือ
5.1 สมมุติฐานการวิจัย (Research Hypothesis or Descriptive Hypothesis) เป็นข้อความที่เขียนในลักษณะบรรยาย หรือคาดคะเนคำตอบของการวิจัย ซึ่งข้อความดังกล่าวจะแสดงถึงความเกี่ยวข้องกันของตัวแปรในรูปของความสัมพันธ์ หรือในรูปของความแตกต่างที่ได้คาดคะเนไว้ เช่น การสอนซ่อมเสริมโดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าการสอนซ่อมเสริมด้วยวิธีปกติ
5.2 สมมุติฐานทางสถิติ (Satirical Hypothesis) เป็นสมมุติฐานที่แปลงรูปจากสมมุติฐานการวิจัยมาอยู่ในรูปแบบทางคณิตศาสตร์ โดยมีการแทนค่าด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดขึ้น ในกรณีที่ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและจะอ้างอิงไปสู่กลุ่มประชากร โดยการทดสอบสมมุติฐาน