วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 11 ความคิดเห็นต่ออาจารย์ผู้สอน

…ความรู้สึกที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์อภิชาติ…
ได้รับความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการใช้อินเทอร์เนตเป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้ ซึ่งความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เราจึงต้องรู้จักวิธีแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองและวิชาชีพอยู่เสมอ อาจารย์อภิชาติมีความเป็นกันเองและจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้นักศึกษาได้รู้จักการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และลงมือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งต้องรู้จักบริหารเวลา วางแผนการเรียนรู้ บวกความรับผิดชอบจึงจะทำให้การเรียนวิชานี้ประสบความสำเร็จขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ได้นำสิ่งใหม่ๆ ดีๆ มาให้นักศึกษาได้เรียนรู้...

ใบงานที่ 10 ประวัติส่วนตัว


ชื่อ-สกุล นายศุภวัฒน์ มะลิเผือก ชื่อเล่น บ่าว
ภูมิลำเนา ตำบลเสาเภา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 41/ 1 ม.6 ต.การะเกด อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช 80190

ประวัติการศึกษา
Ø ประถมศึกษา โรงเรียนวัดสโมสรสันนิบาต อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช (2533)
Ø มัธยมศึกษา โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช (2539)
Ø ระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) วิชาเอก ประถมศึกษา วิชาโท วัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา (2543)
Ø ระดับปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สาขาเทคโนโลยีการวัดผลทางการศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี (2548)

Ø ปัจจุบัน กำลังศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช

ประวัติการทำงาน
Ø เริ่มรับราชการในตำแหน่ง อาจารย์ 1ระดับ 3 โรงเรียนบ้านโคกวัด อำเภอทุ่งใหญ่
จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 20 กรกฏาคม 2543
Ø ตำแหน่งปัจจุบัน ครู คศ.1 โรงเรียนบ้านหนองนนทรี อำเภอชะอวด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3

คติประจำใจ
...ตื่นตัว ว่องไว ก้าวหน้า พัฒนาตนเอง...

ใบงานที่ 9 ลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ

1. เป็นผู้มีจิตวิญญาณนักบริหาร
มีจิตวิญญาณนักบริหาร คือ อุทิศตนเพื่อหน้าที่ ดำเนินชีวิตและทำงานบนพื้นฐานของเหตุผล มีความเป็นปัญญาชน และประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

2. มีคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ
คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ ได้แก่ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน บุคลิกน่าเชื่อถือ มีความเป็นผู้นำ กล้าตัดสินใจ รู้จักตนเองและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีองค์ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญในการบริหาร และสามารอดทน ยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม

3. มีค่านิยมที่พึงประสงค์
ค่านิยมของผู้บริหารที่พึงประสงค์ ได้แก่ การพึ่งตนเอง ประหยัดอดออม มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ปฏิบัติตามคุณธรรมศาสนาและรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

4. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในด้าน
4.1 กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ที่ดีกว่าในองค์กรของตน
4.2 มีความรู้ลึกและรู้รอบ มีความคิดรวบยอดในงานบริหารที่ตนรับผิดชอบและรอบรู้ข่าวสาร ความเปลี่ยนแปลงทางด้านการบริหารและการศึกษาอยู่ตลอดเวลา
4.3 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทำสิ่งแรก สิ่งแปลก สิ่งใหม่ในทางที่ดี นำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ


5. มีจิตใจประชาธิปไตย
5.1 มีคาระวธรรม (เคารพในสิทธิ เสรีภาพของผู้อื่น)
5.2 มีปัญญาธรรม (ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองโดยยึดหลักเหตุผล)
5.3 มีสามัคคีธรรม (ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมคิด ร่วมทำเพื่อให้งานในองค์กรประสบความสำเร็จ)

6. มีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม
มีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม โดยคิดถึงประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว ยอมเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่

7. มีจรรยาบรรณวิชาชีพ
7.1 ต่อตนเอง ซื่อสัตย์ อุทิศตน เป็นแบบอย่างที่ดี
7.2 ต่อผู้รับบริการ ให้ความสำคัญต่อผู้รับบริการ ไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ
7.3 ต่อบุคลากรในองค์กร มีความยุติธรรม ใช้ระบบคุณธรรมในการบริหาร
7.4 ต่อวิชาชีพ ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ บริหารจัดการด้วยความซื่อสัตย์
7.5 ต่อชุมชนและสังคม รักและให้ความสำคัญกับองค์กร ร่วมสร้างความเข้มแข็งต่อองค์กร

ใบงานที่ 8 ศึกษา Web วัดผลดอทคอม

1. ความหมายของสถิติ
สถิติ หมายถึง ศาสตร์หรือวิชาที่ว่าด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาสรุป
2. ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2.1 ค่าเฉลี่ย (Mean) หรือเรียกว่าค่ากลางเลขคณิต ค่าเฉลี่ย ค่ามัชฌิมเลขคณิต เป็นต้น ความหมายเป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
2.2 มัธยฐาน (Median) คือ คะแนนที่อยู่ตรงกลางที่แบ่งคะแนนออกเป็นสองกลุ่มเท่า ๆ กัน ทำโดยนำคะแนนที่ได้มาเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยหรือจากน้อยไปหามาก มักเขียนแทนด้วย Mdn เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
2.3 ฐานนิยม (Mode) คือ ค่าที่ซ้ำกันมากที่สุดหรือที่มีความถี่มากที่สุด เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
2.4 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นการวัดการกระจายที่นิยมใช้กันมากเขียนแทนด้วย S.D. หรือ S เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
3. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3.1 ประชากร (Population) หมายถึง หน่วยทุกหน่วย (ซึ่งอาจมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้) ที่เรา สนใจเช่น จำนวนคนไทยที่เป็นเพศชาย ประชากรคือคนไทยทุกคนที่เป็นเพศชาย จำนวนรถยนต์ในจังหวัดพิษณุโลก ประชากรคือ รถยนต์ทุกคันที่อยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ
3.2 กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง หน่วยย่อยของประชากรที่เราสนใจ เช่น จำนวนรถยนต์ที่วิ่งในจังหวัดพิษณุโลกซึ่งไม่สามารถจัดเก็บได้ทัน จึงต้องใช้ตัวอย่างซึ่งตัวอย่างจะต้องเป็น รถยนต์ที่กำลังวิ่งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ
4. ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
4.1 ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (Independent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผล หรือก่อให้เกิดการแปรผันของปรากฏการณ์ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยกำหนดหรือจัดกระทำได้ เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากตัวแปรนี้
4.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลมากจากการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรอิสระ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยมุ่งวัดเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนำมาวิเคราะห ์เพื่อตอบคำถามของการวิจัยว่าเป็นผลมากจากสิ่งใด
5. สมมุติฐาน
สมมุติฐาน หมายถึง ข้อความที่ผู้วิจัยคาดหวังหรือคิดเกี่ยวกับความแตกต่างที่อาจจะเป็นไปได้ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ สมมุติฐานมีอยู่ 2 ประเภทคือ
5.1 สมมุติฐานการวิจัย (Research Hypothesis or Descriptive Hypothesis) เป็นข้อความที่เขียนในลักษณะบรรยาย หรือคาดคะเนคำตอบของการวิจัย ซึ่งข้อความดังกล่าวจะแสดงถึงความเกี่ยวข้องกันของตัวแปรในรูปของความสัมพันธ์ หรือในรูปของความแตกต่างที่ได้คาดคะเนไว้ เช่น การสอนซ่อมเสริมโดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าการสอนซ่อมเสริมด้วยวิธีปกติ
5.2 สมมุติฐานทางสถิติ (Satirical Hypothesis) เป็นสมมุติฐานที่แปลงรูปจากสมมุติฐานการวิจัยมาอยู่ในรูปแบบทางคณิตศาสตร์ โดยมีการแทนค่าด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดขึ้น ในกรณีที่ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและจะอ้างอิงไปสู่กลุ่มประชากร โดยการทดสอบสมมุติฐาน

ใบงานที่ 7 การตกแต่ง Webblog

1. การใส่ปฏิทิน
2. การใส่นาฬิกา
3. การทำสไสด์
4. การปรับแต่งสีใน Webboard
5. การใส่เพลงลงใน Webboard โดยสามารถสรุปแต่ละประเด็นย่อ ๆ ดังนี้


การใส่ ตกแต่งบล๊อก ด้วยปฏิทิน นาฬิกา สไลด์รูปต่างๆ เปลี่ยนสีในรูปแบบ และเพลงนั้น จำเป็นจะต้องใช้โค้ด(ภาษา HTML) ซึ่งเป็นโค้ดที่ต้องเพิ่มใน Gadget ซึ่งเมนูการเพิ่มจะอยู่ที่
แผงควบคุม ---> รูปแบบ ---> เพิ่ม Gadget ---> เพิ่มจาวา/HTML ---> วางโค้ดของปฎิทิน/นาฬิกา/เพลงที่เราได้คัดลอกมาจากโค้ดที่เราค้นหาโดยใช้ Google ---> แล้วสั่งบันทึก ซึ่งจะกลับมาที่หน้ารูปแบบ--->สั่งบันทึกอีกครั้ง--->จะขึ้นข้อความว่าได้"ได้บันทึกการเปลี่ยนแปลงแล้ว ดูบล๊อก" ---> ซึ่งสามารถดูบล๊อกได้ว่าเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่
สำหรับการค้นหาโค้ด โดยใช้ Google นั้น เมื่อเข้าเว็บ Google แล้วใช้คำค้นหา เช่น โค้ดเพลง/โค้ดปฏิทินแต่งบล๊อก/โค้ดนาฬิกา / โค้ดแต่งบล๊อก /หรือระบุเพลงที่ต้องการ เช่น โค้ดเพลงอวยพรวันเกิด/โค้ดเพลงร๊อก/โค้ดเพลง(ชื่อเพลง)

เมื่อได้หน้าเว็บGoogle ที่ขึ้นผลการค้นหาแล้ว เลือกเปิดลิงค์ต่าง ๆ ก็จะได้หน้าเว็บ เช่น
บางเว็บอาจต้องดาวน์โหลดโค้ด บางเว็บก็ copy โค้ดได้เลยเมื่อได้โค้ดแล้ว select code แล้วนำไปวางใน Gadget ที่ได้สั่งเพิ่ม HTML/จาวาสคริปต์

วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 1 ความหมายของนวัตกรรมและคำที่เกี่ยวข้อง


1. การจัดการ (Management) หมายถึง กระบวนการที่ทําให้งานกิจกรรมต่างๆ สําเร็จลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลด้วยคนและทรัพยากรขององค์การ (Robbins and DeCenzo, 2004; Certo, 2003) ซึ่งตามความหมายนี้องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ ได้แก่ ขบวนการ (process) ประสิทธิภาพ (efficiency) และประสิทธิผล (effectiveness) กระบวนการ (process) ในความหมายของ
การจัดการนี้หมายถึงหน้าที่ต่างๆด้านการจัดการ ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ การนําองค์การ และการควบคุม

2. นวัตกรรม” หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

3. เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง
การประยุกต์หลักการวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์ให้เป็นวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการเสนอ แสดง และถ่ายทอดเนื้อหาทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความหมายนี้พัฒนามาจากความคิดของกลุ่มนักโสตทัศนศึกษา

4. ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจ ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข ข้อความหรือรายละเอียดอาจ
อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง วีดิโอไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และต้องถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน ขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินการที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วของการเก็บข้อมูล ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเอง ข้อมูลจึงหมายถึงตัวแทนของข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปของสิ่งของที่เราสนใจ
ตัวอย่าง ข้อมูล ที่เป็นตัวเลข เช่น จำนวนนักเรียนโรงเรียนระยองวิทยาคม มี 3,853 คน
ข้อมูล ที่ไม่เป็นตัวเลข เช่น จากการสังเกตพบว่านักเรียนโรงเรียนระยองวิทยาคมส่วนใหญ่มาโรงเรียนสาย
ข้อมูลสถิติ ที่เป็นตัวเลข เช่น คะแนนโดยเฉลี่ยของนักเรียนระดับชั้น ม. 6 โรงเรียนระยองวิทยาคมคือ 2.64
ข้อมูลสถิติ ที่ไม่เป็นตัวเลข เช่น จากการสำรวจความพึงพอใจของผู้ปกครองพบว่าร้อยละ 61.5 มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจโรงเรียนในเรื่องของการดูแลระเบียบวินัย


5. สารสนเทศ คือ สิ่งที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ การคาดการณ์ในอนาคต ข้อมูล > ประมวลผล > สารนสนเทศ

6. ระบบสารสนเทศ คือ ระบบข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การไหลข้อมูลภายในและภายนอกองค์กรและการนำเสนอสารสนเทศ ระบบสารสนเทศในโรงเรียน ได้แก่ เอกสาร คอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต การวัดผลประเมินผล สถิติ เป็นต้น สาเหตุที่ทำให้เกิดสารสนเทศ
1) เมื่อมีการเสนอสารสนเทศไปยังข้อมูลต่าง
2) เมื่อองค์กรมีขนาดใหญ่ขึ้น
3) เมื่อต้องการความแม่นยำ ถูกต้อง รวดเร็ว
4) เพื่อการวิจัย ตัดสินใจแก้ปัญหา
5) เพื่อตอบสนองความสนใจ ต้องการเข้าถึงสารสนเทศ


7. ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร

8. การสื่อสาร (Communication) หมายถึง
กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการองค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1) ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2) ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3) สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4) ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5) ความเข้าใจและการตอบสนอง

9. เครือข่าย หมายถึง การแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือบริการกันระหว่างบุคคล กลุ่มหรือสถาบันการประสานงานรูปแบบหนึ่งที่โยงใยการทำงานของกลุ่มบุคคล หรือ องค์กรหลายองค์กร ซึ่งมีทรัพยากร มีเป้าหมาย มีกลุ่มสมาชิกของตนเอง ที่มีความคิด มีปัญหา มีความต้องการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเหมือนกันหรือคล้ายกัน มาติดต่อประสานงานหรือร่วมกันทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เพื่อแก้ไขปัญหาหรือสนองความต้องการในเรื่องนั้นๆ โดยยึดหลักการทำงานร่วมกันบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน เคารพซึ่งกันและกัน มากกว่าการเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้มีอำนาจสั่งการ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและได้และใช้ทรัพยากรที่อยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ และทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก เช่น เว็บ อีเมล FTP


10. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ Information and Communication Technology (ICT) หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการ

11. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาประกอบเข้ากับเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายโทรคมนาคมเชื่อมต่อเข้าหากัน ใช้ในการส่ง-รับข้อมูล และสื่อความรู้ โดยผ่านกระบวนการการประมวลผลหรือจัดทำให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและความสะดวกมาใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง

12. การบริหาร หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายๆอย่างที่บุคคลร่วมกันกำหนดโดยใช้กระบวนอย่างมีระบบและให้ทรัพยากรตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม

ใบงานที่ 2 นวัตกรรม สารสนเทศของโรงเรียน

โรงเรียนบ้านหนองนนทรี ตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช สพท.นศ 3


แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศของสถานศึกษา
พัฒนาระบบสารสนเทศให้ทันสมัย เชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อประโยชน์ในการบริหาร ส่งเสริม
การผลิต การจัดทำจัดหาและใช้นวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาผู้เรียนและพัฒนาสถานศึกษา
นำนวัตกรรมและสารสนเทศมาใช้ให้คุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลมากที่สุด

วิสัยทัศน์
โรงเรียนบ้านหนองนนทรี เป็นโรงเรียนของชุมชน มุ่งฝึกฝนความรู้ ควบคู่ทักษะชีวิต
ตามหลักแนวคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ชื่อเสียงดีมีคุณภาพ

ยุทธศาสตร์
1. พัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ตามหลักธรรมภิบาล
2. เสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรในโรงเรียนให้เป็นมืออาชีพ
3. พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้
4. จัดภูมิทัศน์ และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน
5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

ประวัติความเป็นมาของโรงเรียน
โรงเรียนบ้านหนองนนทรี ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ได้จัดตั้งขึ้นโดยการนำของนายช่วง จันทร์นิยม, นายหนู พิทักษ์, นายส่อง พันธ์ศักดิ์, นายปิด สังข์แก้ว และคณะผู้ปกครองนักเรียน เพราะเห็นว่าท้องถิ่นมีความกันดาร การคมนามคมไม่สะดวก อีกทั้งไกลจากโรงเรียนอื่นๆ มาก จึงขอความร่วมมือจากประชาชน
ในท้องถิ่น จัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราวและพัฒนาปรับปรุงตกแต่งสนาม โดยจัดทำกันทุกวันอาทิตย์ มีนายสมนึก อนุรักษ์ ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนนี้เป็นผู้ประสานงานในขณะดำเนินการก่อสร้างได้มีผู้ร่วมสมทบทุน เป็นเงิน 1,200 บาท และจัดหาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ คิดเป็นเงิน 4,500 บาท การจัดสร้างอาคารเรียน
ชั่วคราว ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองนักเรียนเป็นอย่างดีและมีผู้อุทิศที่ดินให้กับทางโรงเรียนจำนวน
3 ราย คือ นายเขียว ตำปาน, นางลำดวน ฤทธิชัยและนายประสิทธิ์ เหรียญขำ โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 16 ไร่ ระยะทางระหว่างโรงเรียนกับที่ว่าการอำเภอชะอวดประมาณ 20 กิโลเมตรและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ประมาณ 50 กิโลเมตร
วันที่ 1 พฤษภาคม 2521 ทางราชการได้แต่งตั้ง นายสมนึก อนุรักษ์ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่เป็นคนแรก
วันที่ 15 พฤษภาคม 2521 เป็นวันทำพิธีเปิดโรงเรียนมีนาย นิพันธ์ ชนะสงคราม หัวหน้าหมวดการศึกษาอำเภอชะอวด เป็นประธานในพิธีเปิด ฝ่ายทางราชการและพระปลัดเจิม อชิโต (อนุรักษ์) เป็นประธานในพิธีฝ่ายศาสนา มีผู้มีเกียรติมาร่วมประมาณ 300 คน โรงเรียนเปิดทำการสอนนักเรียนปีการศึกษาแรก จำนวน 1 ห้องเรียน คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียนจำนวน 31 คน ครู 1 คนและมีคณะกรรมการศึกษา จำนวน 20 คน คือ
1. นายช่วง จันทร์นิยม 2. นายหนู พิทักษ์ 3. นายปิด สังข์แก้ว 4. นายผิน สังข์แก้ว
5. นายเนียม สังข์แก้ว 6. นายสุภาพ ทุ่มช่วย 7. นายทา บุตรพรหม 8. นายเกษม ด้วงเล็ก
9. นายทิ่ง ขุนปริง 10. นายครื้น คงพรหม 11. นายถนอม ทองคำ 12. นายเจริญ ไชยแก้ว
13. นางเคล้า ไกรคุ้ม 14. นางกุหลาบ ดำปาน 15. นายเจริญ อนุรักษ์ 16. นายชิต เทพยศ
17. นายถวิล ทองรัตน์ 18. นายยิ่น นาควิโรจน์ 19. นางริน ทองรัตน์ 20. นายเจริญ มากช่วย
วันที่ 18 กรกฏาคม 2552 นายสมนึก อนุรักษ์ ไปช่วยราชการที่หมวดการศึกษาอำเภอ เพื่อความปลอดภัยเนื่องจากมีเหตุการณ์ในพื้นที่ที่ไม่น่าไว้วางใจ
วันที่ 4 สิงหาคม 2522 ทางราชการได้แต่งตั้งให้นายวินัย ไชยเดช มารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นครูใหญ่ในเวลาต่อมา และหลังจากนั้นทางราชการได้แต่งตั้ง/ โยกย้ายข้าราชการครูในโรงเรียนอยู่เรื่อยๆ ตามความเหมาะสม ต่อมาทางราชการได้แต่งตั้ง นายยง หนูสาย, นายชม รัตนพันธ์ มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ตามลำดับ
วันที่ 24 ตุลาคม 2538 ทางราชการได้แต่งตั้งนางอาภรณ์ หนูแจ่ม เป็นอาจารย์ใหญ่ แทนนายชม รัตนพันธ์ซึ่งเกษียณอายุราชการ
ปัจจุบันผู้บริหารโรงเรียน คือ นางอาภรณ์ หนูแจ่ม ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา มีครูทั้งหมด 5 คน พนักงานราชการ 1 คน นักการภารโรง 1 คน และนักเรียน 101 คน ทำการเปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544

ประเภทและลักษณะของโรงเรียน
1. เป็นโรงเรียงเรียนที่เปิดสอนในระดับ ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา
2. เป็นโรงเรียนที่ได้รับการประเมินระบบการประกันคุณภาพภายนอกจาก สมศ.
3. เป็นโรงเรียนอยู่ในโครงการโรงเรียนสีขาว
4. เป็นโรงเรียนอยู่ในโครงการ TO BE NUMBER ONE
5. เป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับอำเภอ ปี 2544,2546,2547
6. เป็นโรงเรียนปฏิรูปการศึกษาในปีงบประมาณ 2540
7. เป็นโรงเรียนสนับสนุนโครงการวิถีพุทธ

สภาพการจัดการศึกษา
โรงเรียนบ้านหนองนนทรีจัดการศึกษาเป็น 3 ประเภท คือ
1. ระดับก่อนประถมศึกษา(อ.1-2)
2. ระดับประถมศึกษา ช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-3)
3. ระดับประถมศึกษา ช่วงชั้นที่ 2 (ป.4-6)


ข้อมูลชุมชน
ที่ตั้ง ชุมชนที่ตั้งของโรงเรียน คือ ชุมชนหมู่ที่ 2 ตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ 80180 ประกอบด้วยกลุ่มบ้านเล็กๆ ได้แก่ บ้านหนองนนทรี บ้านหัวควน บ้านควนใน บ้านห้วยขันธ์
สภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ เป็นที่เนินสูงบ้างและที่ต่ำบ้าง กระจัดกระจายทั่วไป มีคลองลาไม

เป็นลำน้ำสายหลักที่สำคัญ และมีลำห้วยเล็กๆ หลายสาย ในช่วงฤดูฝน น้ำจะไหลบ่า เกิดภาวะน้ำท่วมบริเวณที่ต่ำถนนขาดไม่สามารถสัญจรไปมาได้ เนื่องจากน้ำไหลมาเร็วระบายไม่ทัน บริเวณนี้เดิมเป็นป่าทึบ ต่อมามีผู้คนอพยพเข้ามาอาศัยประกอบอาชีพหาของป่า ปลูกผัก ปลูกยางพารา จนปัจจุบันได้เปลี่ยนป่าเป็นส่วนยางพารา ไม่เหลือสภาพป่าทึบให้เห็นอีกแล้ว
ประชากรและการประกอบอาชีพ ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนปักษ์ใต้โดยกำเนิด มีความเป็นอยู่

แบบกันเอง พึ่งพาอาศัยกัน นับถือศาสนาพุทธ การประกอบอาชีพส่วนใหญ่คือเกษตรกรรม ทำสวนยางพารา รับจ้างกรีดยางพารา รับจ้างทั่วไป ทำสวนผลไม้ ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์บ้างเล็กน้อยและอื่นๆ ฐานะทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ค่อนข้างยากจน มีบางครอบครัวไปประกอบอาชีพนอกบ้าน ไปเช้ากลับเย็นและนอกพื้นที่ต่างจังหวัดนานๆ กลับบ้านสักครั้งหนึ่ง อัตราการเกิดของประชากรลดลง ทำให้นักเรียนมีจำนวนไม่มาก
การคมนาคมไม่ค่อยสะดวกเนื่องจากเป็นถนนดินและถนนลูกรัง จะมีฝุ่นมากในช่วงฤดูร้อนและถนนลื่นเป็นหลุมเป็นบ่อ ในช่วงฤดูฝน คู่สายโทรศัพท์ไม่มี สัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็มีปัญหา บางบริเวณไม่มีสัญญาณ ไม่สามารถติดต่อสื่อสารได้

อักษรย่อ น.ท.

สีประจำโรงเรียน ชมพู-เขียว
สีชมพู หมายถึง ความอบอุ่น ความรัก ความสามัคคี
สีเขียว หมายถึง ความสดชื่น ความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญรุ่งเรือง

ต้นไม้ประจำโรงเรียน ต้นนนทรี

คำขวัญประจำโรงเรียน อนามัยดี มีวินัย ใฝ่ศึกษา พัฒนาสังคม

ปรัชญาโรงเรียน การศึกษาพัฒนาชีวิต

วิสัยทัศน์ โรงเรียนบ้านหนองนนทรี เป็นโรงเรียนของชุมชน มุ่งฝึกฝนความรู้ ควบคู่ทักษะชีวิต
ตามหลักแนวคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ชื่อเสียงดีมีคุณภาพ


พันธกิจ
1. พัฒนาระบบการบริหารจัดการ
2. พัฒนาบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ
3. พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถตามศักยภาพ
4. พัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้
5. พัฒนาการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

เป้าประสงค์
1. โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการที่ดี มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา

2. ครู ผู้บริหาร มีความรู้ ความสามารถ พัฒนาตนเองเป็นครูมืออาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ

3. ผู้เรียนมีความรู้ คู่คุณธรรม สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

4. โรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของนักเรียนและชุมชน มีบรรยากาศดี ร่มรื่น สวยงาม น่าอยู่ น่าเรียน

5. ผู้ปกครองนักเรียน กรรมการสถานศึกษา ชุมชน หน่วยงาน/ องค์กรภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

ใบงานที่ 6 ประโยชน์ของ Google


ประโยชน์ของ Google ในการบริการ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ 3 กลุ่ม โดยแบ่งออกตามความสามารถในการทำงานในด้านต่างๆ ดังนี้
1. บริการในกลุ่มดัชนีค้นหา (Search Engines) Google Web Search Features ประกอบด้วยบริการค้นหาต่อไปนี้
1.1 Book Search :· บริการค้นหาหนังสือแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นบริการใหม่ของ Google ที่เพิ่งเปิดให้บริการกับแฟนหนังสือโดยเฉพาะ
1.2 Cached Links· :บริการช่วยจับประเด็นหรือหัวเรื่องสำคัญของเว็บไซต์ที่คุณต้องการจะค้นหา
1.3 Calculator : เครื่องคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่คุณสามารถตั้งตัวเลข โดยคีย์
ลงในช่องค้นหาของ Google แล้วคลิ้กหาคำตอบที่ต้องการได้เลย
1.4 Currency Conversion : บริการแปลงหน่วยมาตราเงินสำหรับระบบแลกเปลี่ยนเงินตรา
1.5 Definitions : หมวดคำศัพท์ที่คุณสามารถค้นหาความหมายของคำศัพท์ที่ต้องการได้ง่ายดาย
1.6 File Types : ดัชนีค้นหาสินค้าออนไลน์ทั่วทุกมุมโลก
1.7 Groups :· ถ้าหากว่าคุณอยากรู้ข้อมูลข่าวสารที่มีคนโพสต์กันบนเว็บไซต์ สามารถค้นหาได้จากบริการนี้
1.8 I ‘m Feeling Lucky :· ปุ่มบริการดัชนีค้นหาที่ช่วยให้ค้นหาเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว และตรงประเด็น โดยข้ามลิงก์ของเว็บไซต์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ถูกตัดออกไป
1.9 Images :· ระบบดัชนีค้นหารูปภาพที่คลิกได้ง่าย และเร็วทันใจ
1.10 Local Search :· บริการค้นหาธุรกิจและบริการต่าง ๆ ที่เปิดในสหรัฐ อังกฤษ และแคนาดา
1.11 Movie : คุณสามารถเข้าไปดูรีวิวภาพยนตร์หรือว่าตารางโปรแกรมฉายแบบเรียลไทม์ได้จากฟีเจอร์นี้
1.12 Music Search : ดัชนีค้นหาเพลงหรือว่าดนตรีที่มีให้บริการฟังเพลงออนไลน์ หรือว่าดาวน์โหลดเพลงจากทั่วโลก
1.13 News Headlines :· บริการที่ทำให้คุณสารารถรู้ข้อมูลข่าวสารทันในที่ส่งมาจากรอบโลกแบบเรียลไทม์
1.15 PhoneBook : บริการค้นหาเบอร์โทรศัพท์และเลขที่บนท้องถนนของสหรัฐอเมริกา
1.16 Q·&A : บริการใหม่ที่คุณอยากรู้อะไรเกี่ยวกับ Google บริการนี้ตอบปัญหาให้คุณได้ทุกเรื่อง
1.17 Similar Pages :· บริการแสดงหน้าเว็บเพจที่แสดงผลในหน้าเว็บที่เกี่ยวข้อง
1.18 Site Search :· กำหนดขอบเขตของการค้นหาเว็บไซต์ให้แคบลง
1.19 Spell Checker :· เครื่องมือช่วยในการสะกดคำ
1.20 Stock Quotes :· ดัชนีค้นหาสำหรับราคาหุ้นแบบเรียลไทม์
1.21 Travel Information :· บริการตรวจสอบสายการบินในสหรัฐ รวมถึงรายงานสภาพอากาศของสนามบิน
1.22 · Weather : บริการตรวจสอบสภาพอากาศและการพยากรณ์อากาศในทุกรัฐของสหรัฐ
1.23 Web Page Translation : บริการแปลหน้าเอกสารภาษาอังกฤษเป็นภาษาอื่น ๆ


2. บริการในกลุ่ม Google Services Alerts :
2.1 Answer :·บริการแจ้งเตือนข่าวสารและผลการค้นหาผ่านอีเมล์แบบออนไลน์ บริการตอบคำถามให้กับคุณได้ทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ โดยนักวิจัยชื่อดังกว่า 500 คน
2.2 Blog Search : บริการค้นหาหัวข้อเรื่องที่เป็น Blog
2.3 Catalogs :·ในประเด็นที่คุณสนใจ บริการค้นหารายการสินค้าที่คุณสนใจและต้องการจะสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์
2.4 Directory : บริการค้นหาสาระสำคัญต่าง ๆ ที่อยู่บนเว็บไซต์
2.5 Labs :· บริการใหม่ ๆ ของ Google ที่คุณสามารถเข้าไปทดสอบใช้งานได้ฟรี ก่อนที่จะออกมาเป็นชุดเต็มของโปรแกรม
2.6 Mobile : บริการหลักของ Google· ที่สามารถนำไปใช้ได้กับเครื่องโทรศัพท์มือถือ เช่น บริการดัชนีค้นหาเอกสาร รูปภาพ หรือส่ง SMS
2.7 News : บริการรายงานข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ· จากทั่วทุกมุมโลกที่มีให้คุณได้อ่านก่อนใคร
2.8 Scholar :· บริการค้นหาเอกสารงานวิจัยใหม่ ๆ รวมทั้งบทคัดย่อจากห้องสมุดใหญ่ ๆ มากมาย
2.9 Special Searches : บริการค้นหาประเด็นสาธารณะในส่วนที่เป็นองค์กร หรือว่าสถาบันที่ไม่หวังผลกำไรต่างๆ รวมถึงบริการค้นหาเว็บไซต์ของสถานศึกษาต่าง ๆ ที่มีรายละเอียดในเรื่องของหลักสูตรการสอนและระเบียบวิธีการเข้าศึกษาต่อทั้งในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย
2.10 Video : บริการค้นหารายการทีวีทางโทรทัศน์ เกมโชว์ มิวสิควิดีโอ ที่คุณสามารถเช่าชั่วโมงมาดูกันแบบออนไลน์ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณ


3. บริการในกลุ่ม Google Tools
3.1 Blogger :· เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือสำหรับสร้าง Blogger ของคุณเอง
3.2 Code :· เครื่องมือสำหรับดาวน์โหลด APls และ Source code Desktop :· เครื่องมือสำหรับช่วยค้นหาไฟล์และข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
3.3 Earth : เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถค้นหาแผนที่โลกจากดาวเทียม
3.4 Gmail : บริการอีเมล์รุ่นทดสอบของ Google ที่มีความจุกว่า 2.6 กิกะไบต์
3.5 Pack : ชุดเครื่องมือรวมฮิตของ Google รวมถึงบราวเซอร์สุดเก่ง
3.6 Firetox Picasa : เครื่องมือสำหรับการบริหารและจัดการรูปภาพทั้งหมดที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์
3.7 Local for Mobile : เครื่องมือสำหรับค้นหาแผนที่ของสถานที่ต่าง ๆ บนโทรศัพท์มือถือ
3.8 Talk : เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถพูดคุย ส่งอีเมล์· กับเพื่อนของคุณแบบเรียลไทม์ออนไลน์
3.9 Toobar : กล่องเครื่องมือที่ทำให้เว็บไซต์ของคุณสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลได้โดยตรง โดยไม่ต้องเข้าไปที่เว็บไซต์ของ Google
3.10 Translate :· เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถดูเว็บไซต์ได้หลาย ๆ ภาษา
3.11 Labs :· กลุ่มของชุดเครื่องมือใหม่ ๆ ของ Google ที่คุณสามารถเข้าไปทดลองดาวน์โหลดได้ฟรี

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ใบงนที่ 4 การจัดการความรู้


การจัดการความรู้


การจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือในการแปลงยุทธศาสตร์
ไปสู่การปฏิบัติ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ

1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge)เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

2.ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรมบทบาทใหม่ของการบริหารทุนมนุษย์ การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management) ต่างจากการบริหารทรัพยากรบุคคล ตรงที่เน้นความสำคัญของคุณค่าหรือมูลค่าของคนและสิ่งที่คนในองค์กรผลิตหรือสร้างขึ้นมา แต่ไม่ได้เน้นหน้าที่ด้านการบริหารงานบุคคล ดังนั้น การบริหารทุนมนุษย์จึงเกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบของกระบวนวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคล (Impact of People Management Practice) และความทุ่มเทพยายามของคนต่อความสำเร็จขององค์กร มืออาชีพหลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าการบริหารทรัพยากรบุคคลหมดความสำคัญ และอาจจะไม่จำเป็นต้องทำไป แต่อย่างไรหน้าที่ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลก็ยังคงอยู่ต่อไป แต่ต้องทำอย่างมืออาชีพมากยิ่งขึ้น และต้องมีการปรับบทบาทการบริหารทรัพยากรบุคคลเสียใหม่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป


ข้อมูล DATA - ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประเมินผล
กลุ่มของข้อมูลดิบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานสารสนเทศ (Information )
ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว - ผลรวมของข้อมูลที่มีความหมายความรู้ (Knowledge)
ผลการขัดเกลาและเลือกใช้สารสนเทศโดยมีการจัดระบบ สร้างเป็นองค์ความรู้ความเฉลียวฉลาด (Wisdom)
การนำเอาความรู้ต่างๆมาบูรณาการเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานในสาขาวิชาต่างๆเชาว์ปัญญา (Intelligent) ผลการปรับแต่งและความจดจำความเฉลียวฉลาดต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความคิดที่ฉับไวรูปแบบการจัดการความรู้ ความรู้แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ - ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge)เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ - ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆวิธีการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้KM ไม่ทำไม่รู้ เรียนลัดและต่อยอดโมเดลปลาทู“ โมเดลปลาทู” เป็นโมเดลอย่างง่าย ของ สคส. ที่เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี ๓ ส่วน คือ

๑ . ส่วน “ หัวปลา” (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “ เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย “ หัวปลา” นี้จะต้องเป็นของ “ คุณกิจ” หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี “ คุณเอื้อ” และ “ คุณอำนวย” คอยช่วยเหลือ

๒ . ส่วน “ ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS) เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “ คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “ คุณกิจ” มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว “ คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม

๓ . ส่วน “ หางปลา” (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ “ คลังความรู้” หรือ “ ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “ เกร็ดความรู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ ตัวปลา” ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ “ หางปลา” นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไปKnowledge Vision Knowledge Assets Knowledge Sharing KVKSKA ส่วนหัว ส่วนตามองว่ากำลังจะไปทางไหนต้องตอบได้ว่า “ ทำ KM ไปเพื่ออะไร”
กระบวนการจัดการความรู้
1. กำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
2. แสวงหาความรู้
3. จัดเก็บ และศึกษาหาความรู้
4. การสร้างความรู้
5. การประมวลและกลั่นกรองความรู้
6. การถ่ายโอนและกลั่นกรองความรู้
7. การแบ่งความรู้การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้
7.1 การจับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ
7.2 การวิเคราะห์ความรู้ที่จับได้
7.3 การตรวจสอบความถูกต้องของความรู้
7.4 การสังเคราะห์ให้เหมาะสมกับการใช้งานCoP(Community of Practice)

ชุมชนนักปฏิบัติ
คือ ชุมชนที่มีการรวมตัวกัน หรือเชื่อมโยงกันอย่างไม่เป็นทางการ โดยมีลักษณะดังนี้
-ประสบปัญหาลักษณะเดียวกัน- มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกันและกัน
-มีเป้าหมายร่วมกัน มีความมุ่งมั่นร่วมกัน ที่จะพัฒนาวิธีการทำงานได้ดีขึ้น
-วิธีปฏิบัติคล้ายกัน ใช้เครื่องมือ และภาษาเดียวกัน
-มีความเชื่อ และยึดถือคุณค่าเดียวกัน
-มีบทบาทในการสร้าง และใช้ความรู้
-มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน อาจจะพบกันด้วยตัวจริง หรือผ่านเทคโนโลยีฃ
-มีช่องทางเพื่อการไหลเวียนของความรู้ ทำให้ความรู้เข้าไปถึงผู้ที่ต้องการใช้ได้ง่าย
-มีความร่วมมือช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาและเรียนรู้จากสมาชิกด้วยกันเอง
-มีปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่อง มีวิธีการเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่สายในทางสังคมทำให้เพิ่มพูนความรู้ที่ลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆ ในระดับที่ง่ายที่สุด

ประสบการณ์จากการทำงาน กลุ่มดังกล่าวมักจะไม่ได้เกิดจากการจัดตั้งโดยองค์การ เป็นกลุ่มที่เกิดจากความต้องการทางสังคม และความพยายามที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จ เป็นกลุ่มที่ไม่มีอำนาจ ไม่มีการกำหนดไว้ในแผนภูมิโครงสร้างองค์กร และอาจจะมีเป้าหมายที่ขัดแย้งกับผู้นำองค์กร ในหนึ่งองค์กรอาจจะมีชุมชนนักปฏิบัติจำนวนมาก และคนคนหนึ่งจะเป็นสมาชิกในหลายชุมชน ชุมชนนักปฏิบัติมีความสำคัญอย่างไร เครือข่ายความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ เกิดจากความใกล้ชิด ความพอใจ และพื้นฐานที่ใกล้เคียงกัน ลักษณะที่ไม่เป็นทางการจะเอื้อต่อการเรียนรู้ และการสร้างความรู้ใหม่ๆ มากกว่าโครงสร้างที่เป็นทางการ คำว่า ปฏิบัติ หรือ practice ใน CoP ชี้จุดเน้นที่ การเรียนรู้ซึ่งได้รับจากการทำงาน เป็นหลัก เป็นแง่มุมเชิงปฏิบัติ ปัญหาประจำวัน เครื่องมือใหม่ๆ พัฒนาการในเรื่องงาน วิธีการทำงานที่ได้ผล และไม่ได้ผล การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทำให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก สร้างความรู้ และความเข้าใจได้มากกว่าการเรียนรู้ จากหนังสือ หรือการฝึกอบรมตามปกติ เครือข่ายที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งมีสมาชิกจากต่างหน่วยงาน ช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ดีกว่า การสื่อสารตามโครงสร้างที่เป็นทางการ ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับชุมชนนักปฏิบัติอุปสรรคของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ - ไม่พูด ไม่คุย - ไม่เปิด ไม่รับ - ไม่ปรับ ไม่เรียน - ไม่เพียร ไม่ทำคลังความรู้ (Knowledge Assets) ประกอบด้วย 3 ส่วน
1.เรื่องเล่าหรือคำพูดที่เร้าใจ +
2. การถอดบทเรียนที่ได้ +
3. แหล่งข้อมูลบุคคลอ้างอิง (Tacit Knowledge) (Explicit Knowledge) (References)

ข้อควรระวังในการทำ KS
- ให้ share "เรื่องเล่า" ไม่ใช่ share "ความคิด"
- เป็น Storytelling ไม่ใช่ Problem-solving ไม่ใช่ Planning
- share แล้วต้อง Learn และ Learn แล้วต้อง Lead (นำ) ...นำสู่การกระทำ ...นำสู่ภาพที่ต้องการ"ทุกความสำเร็จในองค์กร ย่อมมาจากกลยุทธ์การวางแผน การปฏิบัติ และการจัดการอย่างมืออาชีพ"


การจัดการความรู้บทบาทใหม่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
1. ผู้ดูแลทุนมนุษย์ ( Human Capital Steward )
2. ผู้ประสานสัมพันธ์ ( Knowledge Facilitator )
3. ผู้อำนวยความรู้ ( Relationship Bulder )
4. ผู้มีอาชีพที่เฉพาะ ( Raped Deployment Sepecidist )

ความรู้คืออะไร
1. Knowledge Capital เป็นต้นทุน องค์กร ทรัพยากรมนุษย์
2. ความสามารถในการทำให้สารสนเทศ และข้อมูลมาเป็นการกระทำที่มีประสิทธิภาพได้
3. ส่วนผสมของกรอบประสบการณ์ คุณค่า สารสนเทศ และความเชี่ยวชาญข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ ความเฉลียวฉลาด และเชาว์ปัญญาข้อมูล ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผล กลุ่มของข้อมูลดิบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานสารสนเทศ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว ผลรวมของข้อมูลที่มีความหมายความรู้ ผลจากการขัดเกลาและเลือกใช้สารสนเทศโดยมีการจัดระบบความคิด เกิดเป็นความรู้ และความเชี่ยวชาญความเฉลียวฉลาด การนำเอาความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อทำงานในสาขาต่างๆเชาว์ปัญญา ผลจากการปรับแต่งและจดจำความเฉลียวฉลาดต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความคิดที่ฉับไวรูปแบบของความรู้ประเภทของความรู้กับการจัดการรู้


ความรู้อาจแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
ความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) คือ ความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือ วิชาการ อยู่ในตำรา การจัดการจะเน้นการเข้าถึงแหล่งความรู้ ตรวจสอบและตีความได้ เมื่อนำไปใช้จะเกิดความรู้ใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นใช้อ้างอิงต่อไป
ความรู้ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสม มายาวนาน เป็นภูมิปัญญา การจัดการความรู้แบบนี้ จะเน้นที่การจัดเวทีเพื่อให้มีการแบ่งปันความรู้ที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน อันนำไปสู่ความรู้ใหม่ที่จะนำไปใช้งานต่อไปซึ่งในสภาพความเป็นจริง ความรู้ทั้ง 2 ประเภทเหล่านี้ มีการสับเปลี่ยนสภาพกันตลอดเวลา การจัดการความรู้ จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพความรู้ เช่น

โมเดลปลาทู การจัดการความรู้ในรูปแบบของ “โมเดลปลาทู” ที่แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1. ส่วนหัวปลา หรือส่วนของเป้าหมายของการจัดการความรู้ (KnowledgeManagementVision),
2. ส่วนของตัวปลา หรือส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) และส่วนของหางปลา หรือตัวคลังความรู้ (Knowledge Assets)

COP ย่อมาจาก Community of Practice หมายถึง ชุมชนนักปฏิบัติ หรือ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่รวบรวมกลุ่มคนที่มีความรู้ความสนใจในเรื่องเดียวกัน มาร่วมแลกเปลี่ยน แบ่งปัน เรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ร่วมกันเพื่อได้มาซึ่ง
Knowledge Assets : KA หรือ ขุมความรู้ ในเรื่องนั้น ๆ สำหรับคนในชุมชนเพื่อไปทดลองใช้ แล้วนำผลที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก อันส่งผลให้ความรู้นั้น ๆ ถูกยกระดับขึ้นเรื่อย ๆ ผ่านการปฏิบัติ ประยุกต์ และปรับใช้ตามแต่สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่หลากหลาย อันทำให้งานบรรลุผลดีขึ้นเรื่อย ๆ COP เป็น 1 ใน เครื่องมือของการจัดการความรู้ (KM Tools) ประเภท Non-Technical Tools สำหรับการดึงความรู้ประเภท Tacit Knowledge หรือ ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล ซึ่งซ่อนเร้นอยู่ภายใน

ลักษณะที่สำคัญของ COP
• กลุ่มคนที่รวมตัวกันโดยมีความสนใจและความปรารถนา (Passion) ร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (มี Knowledge Domain)
• ปฏิสัมพันธ์และสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่ม เป็นชุมชน (community) ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
• แลกเปลี่ยนและพัฒนาความรู้ร่วมกัน ต้อง Practice และสร้างฐานข้อมูล ความรู้ หรือแนวปฏิบัติประโยชน์ของ COPระยะสั้น
• เวทีของการแก้ปัญหา ระดมสมอง
• ได้แนวคิดที่หลากหลายจากกลุ่ม
• ได้ข้อมูลมากขึ้นในการตัดสินใจ
• หาทางออก/คำตอบที่รวดเร็ว
• ลดระยะเวลา และการลงทุน
• เกิดความร่วมมือ และการประสานงานระหว่างหน่วยงาน
• ช่องทางในการเข้าหาผู้เชียวชาญ
• ความมั่นใจในการเข้าถึงและแก้ปัญหา
• ความผูกพันในกรเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
• ความสนุกที่ได้อยู่กับเพื่อนร่วมงาน
• ได้รู้จักเพื่อนใหม่ที่มีหลายสิ่งหลายอย่างคล้ายกัน รวมทั้งอาจกำลังเผชิญปัญหาที่คล้ายคลึงกัน เมื่อได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จะทำให้ค้นพบวิธีแก้ปัญหาระยะยาว
• เสริมสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขององค์กร
• เกิดความสามารถที่ไม่คาดการณ์ไว้
• วิเคราะห์ความแตกต่างและตั้งเป้าหมายการปรับปรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• แหล่งรวบรวมและเผยแพร่วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ
• เกิดโอกาสพัฒนาองค์กรอย่างก้าวกระโดด
• เครือข่ายของกลุ่มวิชาชีพ
• ชื่อเสียในวิชาชีพเพิ่มขึ้น
• ได้รับผลตอบแทนจากการจ้างงานสูงขึ้น
• รักษาคนเก่งให้อยู่กับองค์กรได้
• เพิ่มโอกาสในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในองค์กร
• ขับเคลื่อนให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์

ลักษณะการทำ COP
- แบบกลุ่มเล็ก และกลุ่มใหญ่
- แบบเป็นทางการ (Public)
- เปิดเผย และไม่เป็นทางการ (Private)
- ส่วนตัว
- แบบบนลงล่าง (Top Down)และรากหญ้า (Grass Root)
- แบบแยกฝ่าย และคละฝ่าย
- แบบคนในองค์กร
- คนในองค์กร และคนในองค์กร
- คนนอกองค์กร
- แบบระหว่างคน
- คน และระหว่างคน
- สื่อ
-คนKs ที่ดีต้องมีทั้ง Explicit และ TacitExplicit ต้องมีวิชาการ ทฤษฎี มาจากการสังเคราะห์วิจัยใช้สมอง เป็นกฎเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอนที่ผ่านการพิสูจน์Tacit ภูมิปัญญา เคล็ดวิชา ปฏิบัติ ประสบการณ์ มากจากวิจารณญาณ เป็นเทคนิค เฉพาะตัว เป็นลูกเล่นของแต่ละคน คลังความรู้ที่ดี

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พุทธศาสนสุภาษิต


พุทธศาสนสุภาษิต : หว่านพืชเช่นใด ได้ผลเช่นนั้น
อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก
มนาปทายี ลภเต มนาปํ ผู้ให้สิ่งที่ชอบใจ ย่อมได้สิ่งที่ชอบใจ
เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฐมุเปติ ฐานํ ผู้ให้สิ่งที่ประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ
ททโต ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ บุญของผู้ให้ย่อมเจริญ
ทเทยฺย ปุรโส ทานํ คนควรให้ทาน
ปุญฺญมากงฺขมานานํ สงฺโฆ เว ยชตํ มุขํ
พระสงฆ์นั้นแล เป็นประมุขของเหล่าชนผู้จำนงบุญบูชาอยู่