วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 11 ความคิดเห็นต่ออาจารย์ผู้สอน

…ความรู้สึกที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์อภิชาติ…
ได้รับความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการใช้อินเทอร์เนตเป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้ ซึ่งความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เราจึงต้องรู้จักวิธีแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองและวิชาชีพอยู่เสมอ อาจารย์อภิชาติมีความเป็นกันเองและจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้นักศึกษาได้รู้จักการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และลงมือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งต้องรู้จักบริหารเวลา วางแผนการเรียนรู้ บวกความรับผิดชอบจึงจะทำให้การเรียนวิชานี้ประสบความสำเร็จขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ได้นำสิ่งใหม่ๆ ดีๆ มาให้นักศึกษาได้เรียนรู้...

ใบงานที่ 10 ประวัติส่วนตัว


ชื่อ-สกุล นายศุภวัฒน์ มะลิเผือก ชื่อเล่น บ่าว
ภูมิลำเนา ตำบลเสาเภา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 41/ 1 ม.6 ต.การะเกด อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช 80190

ประวัติการศึกษา
Ø ประถมศึกษา โรงเรียนวัดสโมสรสันนิบาต อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช (2533)
Ø มัธยมศึกษา โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช (2539)
Ø ระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) วิชาเอก ประถมศึกษา วิชาโท วัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา (2543)
Ø ระดับปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สาขาเทคโนโลยีการวัดผลทางการศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี (2548)

Ø ปัจจุบัน กำลังศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช

ประวัติการทำงาน
Ø เริ่มรับราชการในตำแหน่ง อาจารย์ 1ระดับ 3 โรงเรียนบ้านโคกวัด อำเภอทุ่งใหญ่
จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 20 กรกฏาคม 2543
Ø ตำแหน่งปัจจุบัน ครู คศ.1 โรงเรียนบ้านหนองนนทรี อำเภอชะอวด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3

คติประจำใจ
...ตื่นตัว ว่องไว ก้าวหน้า พัฒนาตนเอง...

ใบงานที่ 9 ลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ

1. เป็นผู้มีจิตวิญญาณนักบริหาร
มีจิตวิญญาณนักบริหาร คือ อุทิศตนเพื่อหน้าที่ ดำเนินชีวิตและทำงานบนพื้นฐานของเหตุผล มีความเป็นปัญญาชน และประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

2. มีคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ
คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ ได้แก่ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน บุคลิกน่าเชื่อถือ มีความเป็นผู้นำ กล้าตัดสินใจ รู้จักตนเองและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีองค์ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญในการบริหาร และสามารอดทน ยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม

3. มีค่านิยมที่พึงประสงค์
ค่านิยมของผู้บริหารที่พึงประสงค์ ได้แก่ การพึ่งตนเอง ประหยัดอดออม มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ปฏิบัติตามคุณธรรมศาสนาและรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

4. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในด้าน
4.1 กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ที่ดีกว่าในองค์กรของตน
4.2 มีความรู้ลึกและรู้รอบ มีความคิดรวบยอดในงานบริหารที่ตนรับผิดชอบและรอบรู้ข่าวสาร ความเปลี่ยนแปลงทางด้านการบริหารและการศึกษาอยู่ตลอดเวลา
4.3 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทำสิ่งแรก สิ่งแปลก สิ่งใหม่ในทางที่ดี นำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ


5. มีจิตใจประชาธิปไตย
5.1 มีคาระวธรรม (เคารพในสิทธิ เสรีภาพของผู้อื่น)
5.2 มีปัญญาธรรม (ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองโดยยึดหลักเหตุผล)
5.3 มีสามัคคีธรรม (ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมคิด ร่วมทำเพื่อให้งานในองค์กรประสบความสำเร็จ)

6. มีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม
มีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม โดยคิดถึงประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว ยอมเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่

7. มีจรรยาบรรณวิชาชีพ
7.1 ต่อตนเอง ซื่อสัตย์ อุทิศตน เป็นแบบอย่างที่ดี
7.2 ต่อผู้รับบริการ ให้ความสำคัญต่อผู้รับบริการ ไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ
7.3 ต่อบุคลากรในองค์กร มีความยุติธรรม ใช้ระบบคุณธรรมในการบริหาร
7.4 ต่อวิชาชีพ ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ บริหารจัดการด้วยความซื่อสัตย์
7.5 ต่อชุมชนและสังคม รักและให้ความสำคัญกับองค์กร ร่วมสร้างความเข้มแข็งต่อองค์กร

ใบงานที่ 8 ศึกษา Web วัดผลดอทคอม

1. ความหมายของสถิติ
สถิติ หมายถึง ศาสตร์หรือวิชาที่ว่าด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาสรุป
2. ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2.1 ค่าเฉลี่ย (Mean) หรือเรียกว่าค่ากลางเลขคณิต ค่าเฉลี่ย ค่ามัชฌิมเลขคณิต เป็นต้น ความหมายเป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
2.2 มัธยฐาน (Median) คือ คะแนนที่อยู่ตรงกลางที่แบ่งคะแนนออกเป็นสองกลุ่มเท่า ๆ กัน ทำโดยนำคะแนนที่ได้มาเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยหรือจากน้อยไปหามาก มักเขียนแทนด้วย Mdn เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
2.3 ฐานนิยม (Mode) คือ ค่าที่ซ้ำกันมากที่สุดหรือที่มีความถี่มากที่สุด เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
2.4 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นการวัดการกระจายที่นิยมใช้กันมากเขียนแทนด้วย S.D. หรือ S เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
3. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3.1 ประชากร (Population) หมายถึง หน่วยทุกหน่วย (ซึ่งอาจมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้) ที่เรา สนใจเช่น จำนวนคนไทยที่เป็นเพศชาย ประชากรคือคนไทยทุกคนที่เป็นเพศชาย จำนวนรถยนต์ในจังหวัดพิษณุโลก ประชากรคือ รถยนต์ทุกคันที่อยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ
3.2 กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง หน่วยย่อยของประชากรที่เราสนใจ เช่น จำนวนรถยนต์ที่วิ่งในจังหวัดพิษณุโลกซึ่งไม่สามารถจัดเก็บได้ทัน จึงต้องใช้ตัวอย่างซึ่งตัวอย่างจะต้องเป็น รถยนต์ที่กำลังวิ่งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ
4. ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
4.1 ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (Independent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผล หรือก่อให้เกิดการแปรผันของปรากฏการณ์ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยกำหนดหรือจัดกระทำได้ เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากตัวแปรนี้
4.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลมากจากการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรอิสระ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยมุ่งวัดเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนำมาวิเคราะห ์เพื่อตอบคำถามของการวิจัยว่าเป็นผลมากจากสิ่งใด
5. สมมุติฐาน
สมมุติฐาน หมายถึง ข้อความที่ผู้วิจัยคาดหวังหรือคิดเกี่ยวกับความแตกต่างที่อาจจะเป็นไปได้ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ สมมุติฐานมีอยู่ 2 ประเภทคือ
5.1 สมมุติฐานการวิจัย (Research Hypothesis or Descriptive Hypothesis) เป็นข้อความที่เขียนในลักษณะบรรยาย หรือคาดคะเนคำตอบของการวิจัย ซึ่งข้อความดังกล่าวจะแสดงถึงความเกี่ยวข้องกันของตัวแปรในรูปของความสัมพันธ์ หรือในรูปของความแตกต่างที่ได้คาดคะเนไว้ เช่น การสอนซ่อมเสริมโดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าการสอนซ่อมเสริมด้วยวิธีปกติ
5.2 สมมุติฐานทางสถิติ (Satirical Hypothesis) เป็นสมมุติฐานที่แปลงรูปจากสมมุติฐานการวิจัยมาอยู่ในรูปแบบทางคณิตศาสตร์ โดยมีการแทนค่าด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดขึ้น ในกรณีที่ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและจะอ้างอิงไปสู่กลุ่มประชากร โดยการทดสอบสมมุติฐาน

ใบงานที่ 7 การตกแต่ง Webblog

1. การใส่ปฏิทิน
2. การใส่นาฬิกา
3. การทำสไสด์
4. การปรับแต่งสีใน Webboard
5. การใส่เพลงลงใน Webboard โดยสามารถสรุปแต่ละประเด็นย่อ ๆ ดังนี้


การใส่ ตกแต่งบล๊อก ด้วยปฏิทิน นาฬิกา สไลด์รูปต่างๆ เปลี่ยนสีในรูปแบบ และเพลงนั้น จำเป็นจะต้องใช้โค้ด(ภาษา HTML) ซึ่งเป็นโค้ดที่ต้องเพิ่มใน Gadget ซึ่งเมนูการเพิ่มจะอยู่ที่
แผงควบคุม ---> รูปแบบ ---> เพิ่ม Gadget ---> เพิ่มจาวา/HTML ---> วางโค้ดของปฎิทิน/นาฬิกา/เพลงที่เราได้คัดลอกมาจากโค้ดที่เราค้นหาโดยใช้ Google ---> แล้วสั่งบันทึก ซึ่งจะกลับมาที่หน้ารูปแบบ--->สั่งบันทึกอีกครั้ง--->จะขึ้นข้อความว่าได้"ได้บันทึกการเปลี่ยนแปลงแล้ว ดูบล๊อก" ---> ซึ่งสามารถดูบล๊อกได้ว่าเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่
สำหรับการค้นหาโค้ด โดยใช้ Google นั้น เมื่อเข้าเว็บ Google แล้วใช้คำค้นหา เช่น โค้ดเพลง/โค้ดปฏิทินแต่งบล๊อก/โค้ดนาฬิกา / โค้ดแต่งบล๊อก /หรือระบุเพลงที่ต้องการ เช่น โค้ดเพลงอวยพรวันเกิด/โค้ดเพลงร๊อก/โค้ดเพลง(ชื่อเพลง)

เมื่อได้หน้าเว็บGoogle ที่ขึ้นผลการค้นหาแล้ว เลือกเปิดลิงค์ต่าง ๆ ก็จะได้หน้าเว็บ เช่น
บางเว็บอาจต้องดาวน์โหลดโค้ด บางเว็บก็ copy โค้ดได้เลยเมื่อได้โค้ดแล้ว select code แล้วนำไปวางใน Gadget ที่ได้สั่งเพิ่ม HTML/จาวาสคริปต์